ปริญญาเอก /

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์โลหิตวิทยาคลินิก

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

Doctor of Philosophy Program in Clinical Hematology Sciences

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ลึกในศาสตร์ด้านโลหิตวิทยา มีความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และบูรณาการกับศาสตร์อื่นแบบสหวิทยาการ เพื่อวิเคราะห์ วิจัย สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือผลิตนวัตกรรมได้

รหัสหลักสูตร

25610018000591

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์โลหิตวิทยา

ภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy Program in Clinical Hematology Sciences

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.)

ภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy (Ph.D.)

ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน Transcript

Clinical Hematology Sciences

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ระยะเวลาการศึกษา

หลักสูตร 3 ปี  ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท และไม่เกิน 8 ปีการศึกษา สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาตรี ทั้งนี้นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
72 หน่วยกิต
แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
48 หน่วยกิต
แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
72 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1
แบบ 1.2
แบบ 2.1
แบบ 2.2
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
48
72
48
72
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน
12
24
รายวิชาบังคับ
9
16
รายวิชาเลือกไม่น้อยกว่า
3
8
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์
48
72
36
48

หมายเหตุ

  • แบบ 1.1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต
  • แบบ 1.2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต
  • แบบ 2.1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต
  • แบบ 2.2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักเทคนิคการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หัวหน้าห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
  • อาจารย์ หรือนักวิจัยในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยหรือหน่วยงานอื่น ทั้งในภาครัฐและเอกชน
  • ประกอบกิจการ หรือปฏิบัติงานเป็นผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์และ สารเคมีทางวิทยาศาสตร์การแพทย