ปริญญาเอก /

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

Doctor of Philosophy Program in Physical Therapy

หนังสือชี้แจงหลักสูตร (มคอ) การรับสมัคร (ปิดรับสมัคร)

มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตกายภาพบำบัด ที่สามารถทำวิจัย สร้างองค์ความรู้หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมทางกายภาพบำบัดเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานสากล ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรมและจิตอาสา

รหัสหลักสูตร

25520011100032

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด

ภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy Program in Physical Therapy

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.)

ภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy (Ph.D.)

ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน Transcript

Physical Therapy:

  • Musculoskeletal Physical Therapy or
  • Manipulative Physical Therapy or
  • Neurological Physical Therapy or
  • Pediatric Physical Therapy or
  • Cardiovascular and Respiratory Physical Therapy or
  • Geriatric Physical Therapy

ระยะเวลาการศึกษา

หลักสูตร 3 ปี  ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท และไม่เกิน 8 ปีการศึกษา สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาตรี ทั้งนี้นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แบบ 1.1

60 หน่วยกิต

แบบ 1.2

72 หน่วยกิต

แบบ 2.1

60 หน่วยกิต

แบบ 2.2

72 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1
แบบ 1.2
แบบ 2.1
แบบ 2.2
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
60
72
60
72
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน
24
24
รายวิชาบังคับร่วม
5
5
รายวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา
16
16
รายวิชาเลือก
3
3
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์
60
72
36
48

หมายเหตุ

  • แบบ 1.1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต
  • แบบ 1.2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต
  • แบบ 2.1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต
  • แบบ 2.2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต

แขนงวิชาที่เปิดสอน

เปิดสอน 6 แขนงวิชา ดังนี้ (เลือกแขนงวิชาตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา)

  1. แขนงวิชากายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal Physical
  2. แขนงวิชากายภาพบำบัดด้วยวิธีการดัดดึง (Manipulative Physical Therapy)
  3. แขนงวิชากายภาพบำบัดทางระบบประสาท (Neurological Physical Therapy)
  4. แขนงวิชากายภาพบำบัดในเด็ก (Pediatric Physical Therapy)
  5. แขนงวิชากายภาพบำบัดทางระบบหัวใจ หลอดเลือด และหายใจ (Cardiovascular and Respiratory Physical Therapy)
  6. แขนงวิชากายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ (Geriatric Physical Therapy)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

อาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัย