หน่วยงานวิจัย

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทางการเคลื่อนไหวของมนุษย์

การควบคุมการเคลื่อนไหวของมนุษย์เป็นหนึ่งในแง่มุมที่สำคัญของการทำงานในชีวิตประจำวัน ปัญหาการควบคุมการเคลื่อนไหวสามารถนำไปสู่ความบกพร่องของความสามารถในการปฏิบัติงานและการทำกิจกรรมทางสังคม หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทางการเคลื่อนไหวของมนุษย์มีเป้าหมายการวิจัยเพื่อรวบรวมและประมวลหลักฐานเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อและกิจกรรมของมนุษย์ทุกวัยที่เชื่อมโยงกับผู้ที่มีสุขภาพดี นักกีฬา รวมถึงผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท ผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบหัวใจ หลอดเลือดและระบบทางเดินหายใจ เพื่อให้เข้าใจข้อมูลพื้นฐานรวมถึงการแก้ไขปัญหาการเคลื่อนไหวของมนุษย์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ ได้ดำเนินการวิจัยหลายด้าน เช่น ชีวกลศาสตร์การเคลื่อนไหวของมนุษย์, การทำงานของกล้ามเนื้อ, การวิเคราะห์อุบัติการณ์/ความชุก, การประเมินปัจจัยเสี่ยง, การประเมิน, โปรแกรมการฟื้นฟู และโปรแกรมป้องกัน

ขอบเขตการวิจัย

  • การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของมนุษย์ตลอดช่วงชีวิตทั้งในภาวะสุขภาพดีและผู้มีปัญหาสุขภาพ
  • คุณสมบัติของการทดสอบทางคลินิกเพื่อทำนายความสามารถในการทรงตัวและความเสี่ยงต่อการล้ม
  • การใหโปรแกรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวของมนุษย์
  • การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่มีความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยวิธีการทางกายภาพบำบัดที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์
  • เครื่องมือวัดทางคลินิกสำหรับการศึกษาการควบคุมความเคลื่อนไหวในผู้ป่วยมะเร็ง

ความร่วมมือ

Chulabhorn Hospital

งานวิจัยเด่น

ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

  • Roongbenjawan, N., & Siriphorn, A. (2020). Accuracy of modified 30-s chair-stand test for predicting falls in older adults. Annals of physical and rehabilitation medicine, 63(4), 309–315. https://doi.org/10.1016/j.rehab.2019.08.003
  • Oungphalachai, T., & Siriphorn, A. (2020). Effects of training with a custom-made visual feedback device on balance and functional lower-extremity strength in older adults: A randomized controlled trial. Journal of bodywork and movement therapies, 24(1), 199–205. https://doi.org/10.1016/j.jbmt.2019.03.018
  • Boonyong, S., & Suriyaamarit, D. (2019). The effects of anterior seat inclination on movement time, mechanical work and kinematics during sit-to-stand in children with spastic diplegic cerebral palsy. Disability and rehabilitation. Assistive technology, 1–4. Advance online publication. https://doi.org/10.1080/17483107.2019.1659428
  • Bustam, I. G., Suriyaamarit, D., & Boonyong, S. (2019). Timed Up and Go test in typically developing children: Protocol choice influences the outcome. Gait & posture, 73, 258–261. https://doi.org/10.1016/j.gaitpost.2019.07.382
  • Mapaisansin, P., Suriyaamarit, D., & Boonyong, S. (2020). The development of sit-to-stand in typically developing children aged 4 to 12 years: Movement time, trunk and lower extremity joint angles, and joint moments. Gait & posture, 76, 14–21. https://doi.org/10.1016/j.gaitpost.2019.10.030

ติดต่อ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา บุญหยง

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330